วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้

http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144 ได้กล่าวถึงการประเมินผลของผู้เรียนไว้ดังนี้
การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ช่วงศตวรรษที่ 20 การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่คะแนนจากแบบทดสอบที่อิงบรรทัดฐานตามสถานศึกษาที่เน้นเพียงด้านความรู้ หากนำมาใช้กับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม โดย แนวโน้มของการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จะอยู่บนพื้นฐานของการประเมินพหุมิติ เช่น ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติทุกด้าน ซึ่งในการประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
2. พิจารณาขอบเขต เกณฑ์ วิธีการ และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะ
3. กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน เช่น ผู้เรียน อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
5. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น
6. วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้
1.  การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้ ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสำคัญ
2.  การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งสำหรับใช้ในการประเมิน ทางการศึกษาที่อาศัยการเก็บข้อมูลโดยมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามและจดบันทึกคำตอบ และมีผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล รายการคำถามหรือชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้ถามจะเรียกว่า แบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลสำหรับการวัดผลการประเมินผลและการวิจัย
3. แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ

4. แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ
5. บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน - การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที และควรดำเนินการตลอดเวลาเพื่อการช่วยเหลือผู้เรียน และเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์
6. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียน ผลงาน การปฏิบัติซึ่งในการรวบรวมควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน และมีจำนวนมากพอที่จะใช้ในการประเมินผลผู้เรียน
7. แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึกพฤติกรรม ซึ่งการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดหรือไม่
          ในการประเมินจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งที่จะวัดและมีความน่าเชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้การกำหนดเกณฑ์และวิธีการสร้างเกณฑ์การให้คะแนนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการปฏิบัติ ไม่มีการเฉลยเหมือนแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ การให้คะแนนนั้นเป็นการให้คะแนนตามความรู้สึกของผู้ตรวจ จึงได้มีผู้เสนอวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการปฏิบัติงาน ผลงาน และจากพฤติกรรมการสแดงออกของผู้เรียน การกำหนดแนวการให้คะแนน หรือรูบริค (Rubric) เป็นวิธีการที่ทำให้การพิจารณาผลงานมีความยุติธรรม เนื่องจากได้มีการกำหนดเกณฑ์หรือแนวทางการให้คะแนนไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยการให้คะแนนรูบริคมี 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 เกณฑ์การให้คะแนนเป็นภาพรวม (holistic scoring rubric) คือ แนวทางในการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน จะมีคำ อธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างแล้วเขียนอธิบายคุณภาพของงานหรือความสำเร็จของงานเป็นชิ้นๆ เกณฑ์การประเมินในภาพรวม สำหรับการให้คะแนนรูบริคส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 3–6 ระดับ ซึ่งไม่แยกคะแนนออกเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ วิธีการนี้ใช้ง่ายและประหยัดเวลา อาจแบ่งวิธีการให้คะแนนหลายวิธี เช่น
          วิธีที่ 1 แบ่งตามคุณภาพเป็น 3 แบบ คือ
                   แบบที่ 1 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ
                   แบบที่ 2 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพที่ยอมรับได้
                   แบบที่ 3 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพยอมรับได้น้อย
          วิธีที่ 2 กำหนดระดับความผิดพลาด คือ พิจารณาความบกพร่องจากการปฏิบัติหรือคำตอบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยหักจากคะแนนสูงสุดลดลงมาทีละระดับ ตัวอย่างเช่น ให้นักศึกษาทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์แล้วให้คะแนนดังนี้
                   0 คะแนน หมายถึง ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูก
                   1 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดแต่ไม่ครบทุกขั้นตอน และไม่ได้คำตอบ
                   2 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนมีแนวทางที่จะไปสู่คำตอบ แต่คำนวณผิดพลาด คำตอบผิด
                   3 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอน แต่วิธีการผิดบางขั้นตอน คำตอบถูกต้อง
                   4 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง คำตอบถูกต้อง
          วิธีที่ 3 กำหนดระดับการยอมรับและคำอธิบาย ดังตัวอย่างของการประเมินความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาสาระ
                   0 คะแนน หมายถึง ไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ
                   1 คะแนน หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดได้น้อยมากและเข้าใจไม่ถูกบางส่วน
                   2 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ในบางส่วน
                   3 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้
                   4 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งเสนอแนวคิดใหม่ที่แสดงออกถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกฏเกณฑ์
แบบที่ 2 เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ (analytic scoring rubric) เกณฑ์นี้ใช้มาตรวัดหรือคะแนนแยกลักษณะของผลงาน กระบวนการ หรือพฤติกรรมเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ โดยผู้สอนให้คะแนนแต่ละองค์ประกอบย่อยหรือรายการ แล้วจึงนำมารวมเป็นคะแนนทั้งหมด วิธีนี้ใช้เวลามาก ในรายละเอียดของแต่ละระดับจะมีประโยชน์เมื่อต้องการวินิจฉัยหรือเข้าใจผู้เรียนให้เข้าถึงสิ่งที่คาดหมายได้จากข้อมูลการประเมิน

http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html ได้กล่าวถึงความหมายของการวัดผลและการประเมินผลไว้ดังนี้
ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล
          การวัดผลการ (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง) วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง)
          การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
          การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผล
เช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม. ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมากผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา
บลูม (Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1.       วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)
2.       วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ)
3.       วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (วัดด้านการปฏิบัติ)
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด อย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
มาตราการวัด
1. มาตรานามบัญญัติ เป็นมาตรการวัดที่ใช้กับข้อมูลเป็นเพียงการเรียกชื่อ หรือจำแนกชนิดหรือสัญลักษณ์กับสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้ แสดงให้เห็นเพียงความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่น
การจำแนกคนเป็นเพศหญิง-ชาย หมายเลขโทรศัพท์ ทะเบียนรถ
2. มาตราเรียงอันดับ สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ หรือเป็นการจัดอันดับข้อมูลได้ว่ามาก - น้อย สูง-ต่ำดี-ชั่ว
3. มาตราอันตรภาค สามารถบอกความห่างระหว่างสองตำแหน่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ หรือเซลเซียส
4. มาตราสัดส่วน เป็นมาตราการวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง มีศูนย์แท้ ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไร
หรือเริ่มต้นจาก 0เช่น ความสูง 0 นิ้ว ก็แปลว่าไม่มีความสูง หรือน้ำหนัก 0 กิโลกรัม ก็เท่ากับไม่มีน้ำหนัก
หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น

พเยาว์ เนตรประพา. (ม.ป.ป). http://www.ipesp.ac.th/learning/websatiti/chapter1/unit1_2_1.html  ได้รวบรวมความหมายของการวัดผลและประเมินผล จากนักการศึกษาไว้หลายท่าน ดังนี้
การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา
การวัดหรือ การวัดผล (Measurement) และคำว่า การประเมิน หรือการประเมินผล (Evaluation)เป็นคำที่มี ความหมายที่แตกต่างกัน แต่มักจะใช้ควบคู่กันเสมอ คือ การวัดและประเมินผล หรือการวัดผลและ ประเมินผล เพื่อให้ครอบคลุมความหมายได้ครบถ้วน   ความหมายของคำว่าการวัดผลและประเมินผล ได้มีผู้ให้ความหมายทั้งสองคำไว้ ดังนี้ 
ชวาล แพรัตกุล (2516 : 140) กล่าวว่า การวัดผลหมายถึง กระบวนการใดๆ ที่จะให้ได้มา
ซึ่งปริมาณจำนวนหนึ่ง อันมีความหมายแทนขนาดของสมรรถภาพนามธรรม ที่นักเรียนผู้นั้น มีอยู่ในตน
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์ (2521 : 21) กล่าวว่า การวัดผล หมายถึง ขบวนการในการกำหนดสัญลักษณ์หรือตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อแทนคุณภาพหรือปริมาณของสิ่งนั้นอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2535 : 15) กล่าวว่า การวัด เป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการ
กำหนดค่าตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใด
อย่างหนึ่ง
ล้วน สายยศ (2527 : 1) กล่าวว่า การวัด หมายถึง การนำเครื่องมือไปกระตุ้นยุแหย่ หรือไป
เร้าสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อให้ได้มาซึ่งปริมาณของสิ่งนั้น
อุทุมพร ทองอุไร (2520 : 29) กล่าวว่า การวัด หมายถึง กระบวนการนำตัวเลขหรือสัญลักษณ์มาเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือคุณสมบัติของวัตถุ คน หรือสิ่งของที่จะวัด
นอลล์ (Noll 1965 : 7) กล่าวว่า การวัดผล หมายถึง กระบวนการในการกำหนดคุณลักษณะ
ของสิ่งที่ต้องการวัดในเชิงปริมาณ โดยผลการวัดจะแสดงออกในรูปจำนวน หรือตัวเลขที่มีหน่วยคงที่
อีเบล (Ebel 1978 : 557) กล่าวว่า การวัดผล หมายถึง กระบวนการในการกำหนดจำนวน
ให้แก่แต่ละสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มสิ่งของ หรือบุคคลที่ต้องการวัด เพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของ
คุณลักษณะที่จะวัดของสิ่งของหรือของบุคคลนั้น ๆ
       จากความหมายของการวัดผลที่กล่าวมา สรุปได้ว่า การวัดผล คือ กระบวนการกำหนดตัวเลข
ให้กับสิ่งที่ต้องการจะวัด โดยค่าที่ได้สามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของคุณลักษณะนั้นอย่างมีประ สิทธิภาพ
และความหมายของคำว่า การประเมินผล (Evaluation) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
            ชวาล แพรัตกุล  (2516 : 140) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการที่ครูนำทุกๆ
รายการที่ทราบจากการวัดไปใช้ โดยครูนำผลต่างๆ  จากการวัดผลเหล่านั้นมารวม มาชั่ง มาผสมเพื่อนำ
ไปใช้ในการวินิจฉัย ตีราคาคุณค่าและชี้ขาดลงเป็นผลสรุปว่า  เด็กคนนั้นมีคุณภาพสูงหรือต่ำ ควรให้เป็น
ประเภทสอบได้หรือสอบตก เป็นต้น  ซึ่งการประเมินผลที่ดีต้องตั้งอยู่บน  รากฐานของการวัดที่ดี
            สมหวัง  พิริยานุวัฒน์ (2520 : 176) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการตัดสิน
คุณค่าของสิ่งของหรือการกระทำใด ๆ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน
            ล้วน  สายยศ (2527 : 2) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินที่
เป็นระบบ ครอบคลุมถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
            อีเบล และฟริสบาย (Ebel and Frisbie1986 : 13) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึงการ
ตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของสิ่งต่างๆ  ซึ่งบางครั้งอาจพิจารณาจากผลที่ได้จากการวัดเท่านั้น
แต่ส่วนมากจะตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยพิจารณาจากผลที่ได้จากการวัดด้านต่าง ๆ ประกอบกับหลัก
ฐานด้านอื่น ที่เกี่ยวข้อง  และรวมถึงการใช้วิจารณญาณและความรู้สึกนึกคิดของผู้ประเมินมาประกอบ
ในการตัดสินใจด้วย
            กรอนลันด์ (Gronlund 1976 : 6)  กล่าวว่า การประเมินผล  หมายถึง กระบวนการอย่างมี
ระบบ (Systematic Process) ที่อธิบายสิ่งที่ต้องการประเมินทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดย
ประกอบกับการตัดสินคุณค่าให้กับสิ่งนั้น ซึ่งใช้การเปรียบเทียบกับเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
            จากความหมายของการประเมินผล สรุปว่า การประเมินผล คือ กระบวนการในการตัดสินใจ
ของผู้ประเมิน เพื่อจะตีค่า ตีราคา หรือให้คุณค่าแก่คุณลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งที่เป็นนาม
ธรรม โดยข้อมูลที่ได้จากการวัดผล เป็นส่วนประกอบในการตัดสิน  เปรียบเทียบกับเกณฑ์อย่างใดอย่าง
หนึ่งอย่างมีหลักเกณฑ์และอาศัยการตัดสินที่มีคุณธรรม
ลักษณะของการวัดผล
(อ้างอิง ยรรยงค์  ยรรยงเมธ (2540 : 3)) อธิบายว่า การวัดผล ต้องมีลักษณะที่สำคัญอยู่  3 ประการ คือ
         ประการแรก การวัดผลเป็นกระบวนการในการตรวจวัดคุณลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของหรือสิ่งที่
เป็นนามธรรม เช่น   สติปัญญา  ความสนใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น
         ประการที่สอง การวัดผลจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ เพื่อเทียบกับมาตรฐานที่
จะบอกปริมาณหรือจำนวนของคุณลักษณะนั้นๆ ได้ เช่น การวัดความยาวใช้ตลับเมตรเป็นเครื่องมือ การ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือ เป็นต้น
         ประการที่สาม การวัดผลได้ค่าเป็นจำนวนหรือตัวเลขที่แสดงปริมาณ โดยมีหน่วยการวัดที่แสดง
ระดับหรือจำนวนว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่น วัดระยะทางได้เท่ากับ 12 เมตร วัดอุณหภูมิ ในห้องได้เท่า
กับ 32 องศาเซลเซียส วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยได้ 26 คะแนน เป็นต้น
         ในการวัดผลหากจำแนกประเภทตามคุณลักษณะของสิ่งที่ตรวจวัดแล้วจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
         1. การวัดด้านกายภาพ (Physical Measurement)  หมายถึง การวัดคุณลักษณะที่มีลักษณะ
เป็นรูปธรรม  คือมองเห็นได้หรือสัมผัสได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง พื้นที่ ปริมาตร เป็นต้น  การวัดผลด้าน
กายภาพจึงเป็นการวัดทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีเครื่องมือตรวจวัดที่สร้างขึ้นจากการศึกษา
ถึงคุณลักษณะสิ่งที่จะวัดอย่างชัดเจน แน่นอนเป็นมาตรฐานและสามารถตรวจสอบหรืออธิบายได้ในทาง
ทฤษฎี  ดังนั้นการวัดผลทางด้านกายภาพจึงไม่มีปัญหามากนัก  ถ้าเครื่องมือที่ใช้วัดมีความเชื่อถือได้  ผลที่ได้จากการวัดก็มีความเชื่อถือได้เช่นกัน
         2. การวัดด้านจิตวิทยา (Psychological  Measurement)  หมายถึง การวัดคุณลักษณะของ
มนุษย์ทางจิตใจหรือความรู้สึกซึ่งเป็นนามธรรม เพราะไม่สามารถสังเกตหรือสัมผัสได้โดยตรง  เช่น  สติปัญญา ความสนใจ เจตคติที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความถนัดของบุคคล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดด้านจิตวิทยาจึงต้องอาศัยการวัดทางอ้อม โดยอาศัยทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวกับ
คุณลักษณะนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบ  โอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนจึงมีมาก
ลักษณะของการประเมินผล
               การประเมินผลนั้นเกี่ยวข้องทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการตัดสินคุณค่า ที่เกี่ยวข้อง
กับพฤติกรรมต่าง ๆ  ซึ่งการตัดสินคุณค่านั้น   ขึ้นอยู่กับภูมิหลังและพื้นฐานแต่ละบุคคล ที่ทำการตัดสิน
คุณค่า เช่น สิ่งของที่วัดได้ขนาดเดียวกัน  แต่อาจจะประเมินผลค่าต่างกัน แต่เมื่อมีการประเมินผลแล้ว
จะต้องมากกว่าการบรรยายคุณลักษณะทางปริมาณ  โดยมีจุดเน้นที่การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ทางการศึกษา ซึ่งต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ (ค้วน  ขาวหนู  ม.ป.ป. : 85)   
               1. เป็นการรวบรวมพฤติกรรมทั้งหมดของผู้เรียนซึ่งได้จากการวัดหลายแบบ หลายวิธี
               2. เป็นการคาดคะเนหรือแปลความก้าวหน้าของผู้เรียน  ในด้านความสามารถว่าบรรลุ
ตามจุดประสงค์หรือไม่เพื่อจะได้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าไปในส่วนที่ปรารถนานั้น
               3. เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากการเรียนการสอนและกระทำต่อเนื่องตลอดเวลา ใช้ใน
การวินิจฉัยคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนแต่ละขั้นตอนว่ามีประสิทธิภาพเพียงใดและจะต้องแก้
ไขอย่างไร เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้สอน ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร
และผู้ปกครอง เป็นต้น      

สรุป
การวัดผล  หมายถึง กระบวนการเชิงปริมาณใดๆ ที่จะให้ได้มาซึ่งปริมาณจำนวนหนึ่ง โดยกำหนดสัญลักษณ์หรือค่าตัวเลข ที่มีความหมายแทนคุณภาพหรือปริมาณของสิ่งนั้นอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือ โดยค่าที่ได้สามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของคุณลักษณะนั้นอย่างมีประ สิทธิภาพ
          การประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการตัดสินใจอย่างมีระบบ โดยจะนำผลมาจากการวัดหรือกระบวนการที่ครูนำทุกๆ รายการที่ทราบจากการวัดไปใช้ โดยครูนำผลต่างๆ  จากการวัดผลเหล่านั้นมารวม มาชั่ง มาผสมเพื่อนำ ไปใช้ในการวินิจฉัย ตีราคา คุณค่าและชี้ขาดลงเป็นผลสรุปว่า  เด็กคนนั้นมีคุณภาพสูงหรือต่ำ ควรให้เป็นประเภทสอบได้หรือสอบตก เป็นต้น  ซึ่งการประเมินผลที่ดีต้องตั้งอยู่บน  รากฐานของการวัดที่ดี
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
1.  การสังเกต (Observation)
2.  การสัมภาษณ์ (Interview)
3. แบบสอบถาม (Questionair)
4. แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test)
5. บันทึกของผู้เรียน (Learning log)
6. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
7. แบบสำรวจรายการ
ลักษณะของการวัดผล
         1. การวัดด้านกายภาพ (Physical Measurement)  หมายถึง การวัดคุณลักษณะที่มีลักษณะ
เป็นรูปธรรม  คือมองเห็นได้หรือสัมผัสได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง พื้นที่ ปริมาตร เป็นต้น 
         2. การวัดด้านจิตวิทยา (Psychological  Measurement)  หมายถึง การวัดคุณลักษณะของ
มนุษย์ทางจิตใจหรือความรู้สึกซึ่งเป็นนามธรรม เพราะไม่สามารถสังเกตหรือสัมผัสได้โดยตรง  เช่น  สติปัญญา ความสนใจ เจตคติที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความถนัดของบุคคล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น
ลักษณะของการประเมินผล
               1. เป็นการรวบรวมพฤติกรรมทั้งหมดของผู้เรียนซึ่งได้จากการวัดหลายแบบ หลายวิธี
               2. เป็นการคาดคะเนหรือแปลความก้าวหน้าของผู้เรียน  ในด้านความสามารถว่าบรรลุ
ตามจุดประสงค์หรือไม่เพื่อจะได้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าไปในส่วนที่ปรารถนานั้น
               3. เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากการเรียนการสอนและกระทำต่อเนื่องตลอดเวลา

ที่มา
http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144. การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2558
http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html. การวัดผลและประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2558
พเยาว์ เนตรประพา.(ม.ป.ป).[online].http://www.ipesp.ac.th/learning/websatiti/chapter1/unit1_2_1.html                   การวัดและประเมินผลการศึกษา.สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2558




วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษาแบบเรียนรวม



พรรณิดา  ผุสดี. 2555. http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
การศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวม  หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
ศึกษาแบบเรียนรวมมีรูปแบบใด
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาแบบเรียนรวมมีหลักการใด
การศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้
แนวคิดและปรัญญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
ปรัญญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่น ๆ
พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน
หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ
1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การศึกษาพิเศษ เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถของเด็กตามสภาพของความแตกต่างระหว่างบุคคล และเอกลักษณ์ของแต่ละคนวิธีการที่นำมาใช้สอนและอบรมเพื่อพัฒนาเด็กจึงจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนด้วย โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จึงได้ยึดหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล และการมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จในการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทจะมีหลักในการจัดการศึกษาที่แตกต่างกันไป
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม - Presentation Transcript
การเรียนร่วม หมายถึง  การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป
          การจัดการเรียนร่วม     เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ    โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ   ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป    โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ   รับผิดชอบร่วมกัน     (Collaboration)  และการจัดการเรียนร่วม     อาจกระทำได้หลายลักษณะ   วิธีการจัดการเรียนร่วม    ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ      ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6  รูปแบบ      ดังนี้             
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน    รูปแบบการจัดเรียนร่วม 
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ
1.  ชั้นเรียนปกติเต็มวัน   เด็กจะเรียนในชั้นเรียนเต็มวัน    และอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้นโดยไม่ได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษ เด็กที่จะเข้าเรียนในลักษณะนี้ได้ควรเป็นเด็กที่มีความพิการน้อย    มีความฉลาดและมีความพร้อมในการเรียนตลอดจน   วุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา หรือ เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติ เต็มเวลา และอยู่ในความดูแลของครูประจำชั้นครูประจำวิชา   ซึ่งจะได้รับคำแนะนำจากครูการศึกษ า พิเศษนักจิตวิทยา   เช่นแนะนำชี้แจงให้ครูที่สอนชั้นเรียนร่วมเข้าใจความต้องการ   และความสามารถของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ   ช่วยกำหนด                        
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน  เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้นแต่จะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากครูเดินสอนตามตารางที่กำหนดหรือเมื่อมีความจำเป็น   ครูเดินสอนจะเดินทางไปให้บริการตามโรงเรียนต่างๆ   ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงการให้บริการช่วยเหลือแก่ครูทั้งด้านการสอนและหรือการปรับพฤติกรรม
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม    เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มวันและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น   แต่ได้รับการสอนเสริมจากครูการศึกษาพิเศษที่ประจำอยู่ห้องสอนเสริมบางเวลาหรือบางวิชาวันละ 1-2   ชั่วโมง หรื อ มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการพิเศษของเด็ก    การสอนเด็กอาจกระทำเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็ได้ และสอนในเนื้อหาที่เด็กไม่ได้รับการสอนในชั้นปกติ หรือเนื้อหาที่เด็กมีปัญหา       
5. ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ เด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ   คือ   กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย  คณิตศาสตร์    วิทยาศาสตร์   ศาสนาและวัฒนธรรม     ภาษาต่างประเทศ  เข้าเรียนร่วม    ในชั้นเรียนปกติในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สุขศึกษา และ พลศึกษา   ศิลปะ   เป็นต้น              
6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ  เป็นการจัดเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่มีความบกพร่องประเภทเดียวกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน และเป็นกลุ่มขนาดเล็กปกติเด็กจะเรียน ในชั้นเรียนพิเศษเต็มเวลาและเรียนกับครูประจำชั้นทุกวิชา แต่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กทั่วไปเช่นกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ    การรับประทานอาหาร     การไปทัศนะศึกษา   ซึ่งการจัด   การเรียนร่วมในลักษณะนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก 
(อ้างอิงถึง   เบญจา    ชลธาร์นนท์ .( 2545) . ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกแบบเรียนร่วม . เอกสาร การสอนรายวิชาการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วม . กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาการฝึก ครูสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ   ผดุง    อารยะวิญญู .( 2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แว่นแก้ว .)
ความแตกต่างของการศึกษาแบบเรียนรวม กับการเรียนร่วม
การศึกษาแบบเรียนร่วม  หมายถึง การนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติ มีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง  การศึกษาสำหรับคนทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มรับการศึกษาและจัดบริการพิเศษตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคค

ฉวีวรรณ โยคิน.(2553). http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177   ได้กล่าวถึงการศึกษาแบบเรียนรวมไว้ดังนี้
การศึกษาแบบเรียนรวม  หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวมมีแนวคิดอย่างไร
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนตั้งอยู่ทั่วไปทั้งประเทศอยู่แล้ว พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ส่งผลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งด้านการแพทย์การจัดการศึกษาอาชีพและบุคคลทั่วไปในสังคมทั้งภาครัฐรวมทั้งเอกชนให้ความตระหนักต่อการพัฒนาคนพิการ เปิดโอกาสให้คนพิการได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนพิการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ( กระทรวงศึกษาธิการ, 2542)
นักการศึกษาพิเศษมีความเชื่อในเรื่อง แนวคิดการเรียนรวมว่า แนวคิดการเรียนรวมมีบทบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้ (เบญจา ชลธาร์นนท์,2544)
          1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity ) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน หรือพิการหรือไม่ก็ตาม
          2. ความหลากหลาย (Diversity) ในมวลหมู่มนุษย์ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้ การให้การศึกษาจะต้องยอมรับความแตกต่างในหมู่ชน การศึกษาที่ให้จะต้องแตกต่างกันแต่ทุกคนจะต้องเคารพในความหลากหลาย
          3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization) ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัวและจะต้องยอมรับความปกตินั้น ๆ ทุกคนอยากเหมือนกัน ไม่มีใครอยาก ผ่าเหล่าผ่ากอ ทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน ห้ามให้การศึกษาแยกตามเหล่า
4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society) ในหนึ่งสังคมย่อมมีความหลากหลายวัฒนธรรม เราต้องยอมรับความหลากหลายเหล่านั้น การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคม
          5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดย่อมมีศักยภาพทั้งนั้น แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากันการให้การศึกษาต้องให้จนบรรลุศักยภาพของแต่ละคน ไม่ใช่ให้การศึกษาในปริมาณที่เท่ากันคุณภาพเท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละคน
          6. มนุษยนิยม (Humanism) คนเก่งคือคนที่เข้าใจมวลหมู่มนุษย์ และช่วยให้มวลหมู่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่คนเก่งแต่วิชาการแต่ทำให้เกิดการแตกแยก
          7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) มนุษย์เป็นสังคม เราไม่สามารถจะแยกมนุษย์ออกจากกันได้ เพราะธรรมชาติของเขาต้องมีสังคม การให้การศึกษาโดยการแยกออกไป จึงไม่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์
          8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การให้การศึกษาถึงแม้จะให้เรียนรวมกันไปก็ต้องการเฉพาะของแต่ละคน
9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์เราควรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สังคมน่าอยู่
10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) การให้การศึกษาจะต้องให้ในสภาวะที่เข้าเรียนได้ และจะต้องนำเขาสู่สังคมปกติโดยเร็วที่สุดในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษนั้น เป็นการจัดการด้านการเรียนการสอน และการบริการให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้ได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักในการจัดการศึกษาพิเศษที่สำคัญก็คือ การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับประโยชน์เต็มที่
รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
          1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
                   3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
                   3.2  การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
                   3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ
( Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
                   3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
                   3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา


การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม การเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ นั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบ คือการเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติ โดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา หรือร่วมกิจกรรม ลูกเสือ- เนตรนารี กีฬาสี เป็นต้น คาดหวังว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะมีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ และยังหมายถึงการจัดชั้นเรียนเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ เด็กที่รับบริการในลักษณะนี้มักเป็นเด็กที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ ต้องมีการจัดทำแผนการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคลให้กับเด็ก การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไร เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลา คือ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน


 


สรุป


การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิกรรมร่วมกับเด็กปกติช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
แนวคิดการเรียนรวมมีบทบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้


          1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity )
          2. ความหลากหลาย (Diversity)
          3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization)
4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society
          5. ศักยภาพ (Potential)
          6. มนุษยนิยม (Humanism)
          7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization)        
8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization)
9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency)
10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment)

รูปแบบการเรียนรวม
          1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model)
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model)
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model)
                   3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter)
                   3.2  การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching)
                   3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers)
                   3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design)
                   3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching)


 


ที่มา


พรรณิดา  ผุสดี. (2555). [online]. http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10.
          รูปแบบการเรียนรวม. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2558.
ฉวีวรรณ โยคิน.(2553). [online].  http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177 รูปแบบการเรียนรวม. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2558.
รูปแบบการเรียนรวม. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2558.