วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542 : 77)  การเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเองได้เหมาะสม ดังนั้น คนเราควรมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้ นักจิตวิทยา ครู อาจารย์ ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษา จึงให้การสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ และการประพฤติปฏิบัติของคนเราจะเป็นไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ

วารินทร์ สายโอบเอื้อ (2529:41) การเรียนรู้มีความสำคัญยิ่งต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะคนเราเกิดมาจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลอยู่ตลอดเวลา ตลอดชีวิตของคนเรานั้น มีการเรียนรู้ต่างๆมากมาย เช่น เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา เวลาหิว เวลาหนาว เวลาเจ็บป่วย เรียนรู้นิสัยต่างๆในการดำรงชีวิต เรียนรู้ในการที่จะติดต่อกับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรุ้ในห้องเรียน เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันของสามีและภรรยา เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเรียนรู้วิธีปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้

นุชลี อุปภัย (2555 :128) การเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้งที่บุคคลรู้ตัวและไม่รู้ตัว ที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ อย่างไรก็ตาม การจัดการสอน ผู้สอนจะต้องพยายามหาหนทางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งเรียกว่า การให้การศึกษา ดังนั้น เรื่องราวและรายละเอียดของการเรียนรู้ของการเรียนรู้จึงเป็นเนื้อหาสาระสำคัญที่ผู้สอนควรทราบ เพื่อจะได้สามารถจัดดำเนินการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี โดยมการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในการสอนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสอนที่วางไว้ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดกับผู้เรียนได้อย่างครบถ้วน
              
        ดังนั้นจึงสรุปความสำคัญของการเรียนรู้ได้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งในแต่ละวันจะต้องพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเรียนรู้จะช่วยให้เราสามารถเข้ากับสถาณการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเองได้อย่างเหมาะสม  เพราะชีวิตความเป็นอยู่ และพฤติกรรมจะเปลี่ยนไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ

อ้างอิง
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พัฒนาการศึกษา.
วารินทร์  สายโอบเอื้อ. (2529). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว                  วิทยาลัยครูพระนคร.
นุชลี อุปภัย. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น